4 มาตราดูแลเพื่อนบ้านที่ไม่ค่อยมีระเบียบ สร้างความเดือดร้อนให้เรา

4 มาตราดูแลเพื่อนบ้านที่ไม่ค่อยมีระเบียบ สร้างความเดือดร้อนให้เรา

4 มาตราดูแลเพื่อนบ้านที่ไม่ค่อยมีระเบียบ สร้างความเดือดร้อนให้เรา
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

กระทู้แนะนำในเว็บไซต์พันทิป ดอทคอมพูดถึงบ้านหลังหนึ่งย่านสุทธิสาร ที่มองดูแล้วไม่ต่างจากบ้านนกพิราบเพราะมีนกพิราบบินว่อนอยู่เต็มไปหมด ด้วยสภาพอาคารที่เก่าและรกรุงรัง จนหลายคนที่ผ่านไปมารู้สึกกังวลกับเชื้อโรค ความไม่ถูกสุขลักษณะของการพักอาศัย จากเคสนี้ทำให้ Sanook! Home อยากแนะนำว่า หากเราเจอสถานการณ์ใกล้เคียงเช่นนี้ ในฐานะที่เราอยู่บ้านใกล้เรือนเคียงเราสามารถทำอะไรได้บ้าง (แบบถูกกฎหมาย) มาดูกันค่ะ

ตามพระราชบัญญัติการสาธารณสุข พ.ศ. 2535 ถ้าเราเจอสถานการณ์เพื่อนบ้านปล่อยให้บ้านรกรุงรัง หรือทำให้บ้านกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์เชื้อโรค ตามพระราชบัญญัติฉบับนี้เราสามารถแจ้งให้ผู้เกี่ยวข้องเข้ามาดำเนินการได้ดังนี้

หมวด 4
สุขลักษณะของอาคาร
 
มาตรา 21 เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารหรือส่วนของอาคารใดหรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคาร มีสภาพชำรุดทรุดโทรม หรือปล่อยให้มีสภาพรกรุงรังจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยหรือมีลักษณะไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารนั้นจัดการแก้ไข เปลี่ยนแปลง รื้อถอนอาคาร หรือสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งต่อเนื่องกับอาคารทั้งหมดหรือแต่บางส่วน หรือจัดการอย่างอื่นตามความจำเป็นเพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะภายในเวลาซึ่งกำหนดให้ตามสมควร

มาตรา 22 เมื่อปรากฏแก่เจ้าพนักงานท้องถิ่นว่าอาคารใดมีสินค้าเครื่องเรือนหรือสัมภาระสะสมไว้มากเกินสมควร หรือจัดสิ่งของเหล่านั้นซับซ้อนกันเกินไป จนอาจเป็นเหตุให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ให้โทษใด ๆ หรืออาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่อาศัยหรือไม่ถูกต้องด้วยสุขลักษณะของการใช้เป็นที่อยู่อาศัย ให้เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจออกคำสั่งเป็นหนังสือให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารย้ายสินค้า เครื่องเรือนหรือสัมภาระออกจากอาคารนั้น หรือให้จัดสิ่งของเหล่านั้นเสียใหม่ เพื่อมิให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือให้ถูกต้องด้วยสุขลักษณะหรือให้กำจัดสัตว์ซึ่งเป็นพาหะของโรคภายในเวลาที่กำหนดให้ตามสมควร

มาตรา 23 ในกรณีที่เจ้าพนักงานท้องถิ่นได้ออกคำสั่งให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารผู้ใดดำเนินการตามมาตรา 21 หรือมาตรา 22 และผู้นั้นละเลยไม่ปฏิบัติตามคำสั่งภายในเวลาที่กำหนด เจ้าพนักงานท้องถิ่นมีอำนาจดำเนินการแทนได้ โดยเจ้าของหรือผู้ครอบครองดังกล่าวต้องเป็นผู้เสียค่าใช้จ่ายสำหรับการนั้น

มาตรา 24 เพื่อประโยชน์ในการควบคุมมิให้อาคารใดมีคนอยู่มากเกินไปจนอาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพของผู้อยู่ในอาคารนั้น ให้รัฐมนตรีโดยคำแนะนำของคณะกรรมการมีอำนาจประกาศในราชกิจจานุเบกษากำหนดจำนวนคนต่อจำนวนพื้นที่ของอาคารที่ถือว่ามีคนอยู่มากเกินไป ทั้งนี้ โดยคำนึงถึงสภาพความเจริญ จำนวนประชากร และย่านชุมชนของแต่ละท้องถิ่นเมื่อมีประกาศของรัฐมนตรีตามวรรคหนึ่งแล้ว ห้ามมิให้เจ้าของหรือผู้ครอบครองอาคารตามประกาศนั้นยอมหรือจัดให้อาคารของตนมีคนอยู่เกินจำนวนที่รัฐมนตรีกำหนด


แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook