'ตึกพระเจ้าเหา' ตึกที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ อย่างแท้จริง
คำที่ถูกค้นบ่อย
    Sanook//s.isanook.com/sr/0/images/logo-new-sanook.png60060
    //s.isanook.com/wo/0/ud/42/210717/210717-thumbnail.jpg'ตึกพระเจ้าเหา' ตึกที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ อย่างแท้จริง

    'ตึกพระเจ้าเหา' ตึกที่แสดงถึงสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ อย่างแท้จริง

    2018-03-30T12:11:00+07:00
    แชร์เรื่องนี้

    จากละครบุพเพสันนิวาสตอนที่ผ่านมา หมื่นสุนทรโวหารรับบทโดย ' โป๊ป ธนวรรธน์ ' ชวนแม่หญิงการะเกดรับบทโดย 'เบลล่า ราณี' ขี่ม้าชมเมืองไปเที่ยวเมืองละโว้ หรือลพบุรี ความสนใจใคร่รู้หนึ่งของแม่หญิงการะเกดคืออยากเห็น 'ตึกพระเจ้าเหา' หลายคนจึงสงสัยว่าตึกพระเจ้าเหาคืออะไร ซึ่งจากการหาข้อมูลพบว่ามีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับคำว่า 'ตึกพระเจ้าเหา' หรือคำว่าพระเจ้าเหา หลากหลาย มีทั้งข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับคำว่าพระเจ้าเหาคือพระเจ้าเสียวเหา กษัตริย์พระองค์ที่ 2 ในพงศาวดารจีน หรือแม้แต่แนวคิดจากคุณสุจิตต์ วงษ์เทศที่บอกว่าพระเจ้าเหาไม่ใช่พระเจ้าแผ่นดิน แต่เหมือนเป็นคำพังเพยเปรียบเทียบหมายถึงเก่าแก่ โบราณ อย่างที่เรามักได้ยินคำว่าตั้งแต่ยุคพระเจ้าเหา หรือสมัยพระเจ้าเหา นอกจากนี้ยังมีข้อสันนิษฐานในเชิงของสิ่งปลูกสร้าง ซึ่ง Sanook! Home เลือกนำเสนอข้อมูลส่วนนี้มาขยายให้ละเอียดเพิ่มเติมขึ้น หากก็เป็นเพียงข้อสันนิษฐานอีกข้อหนึ่งที่เชื่อกันว่า

    ตึกพระเจ้าเหาเป็นตึกที่ตั้งอยู่ทางด้านใต้ของเขตพระราชฐานชั้นนอก ตึกหลังนี้แสดงให้เห็นถึงลักษณะสถาปัตยกรรมสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ ได้อย่างชัดเจนมาก เป็นตึกที่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ากว้าง 10 เมตร ยาว 20 เมตร ยกพื้นสูงขึ้นไปประมาณ 1 เมตร ตัวตึกเป็นรูปทรงไทย ฐานก่อด้วยศิลาแลง และจึงก่ออิฐขึ้นมาอีกชั้นหนึ่ง ปัจจุบันเหลือแต่ผนังประตูหน้าต่าง ทำเป็นซุ้มเรือนแก้วฐานสิงห์ ปัจจุบันคงปรากฏลายให้เห็นอยู่ ด้วยเหตุว่าภายในตึกมีฐานชุกชีปรากฏให้เห็นอยู่และชาวฝรั่งเศสได้ระบุว่าเป็นวัด จึงสันนิษฐานว่าเป็นหอพระประจำพระราชวัง ตึกพระเจ้าเหาหรือ 'พระเจ้าหาว' (หาวเป็นภาษาไทยโบราณ หมายถึงท้องฟ้า) ในตอนปลายรัชสมัยสมเด็จพระนารายณ์ฯ พระเพทราชา และขุนหลวงสรศักดิ์ใช้ตึกพระเจ้าเหาเป็นที่นัดแนะประชุมขุนนางและทหารเพื่อแย่งชิงราชสมบัติขณะที่สมเด็จพระนารายณ์ฯ ทรงพระประชวรหนัก

     

    เชื่อกันกว่าอาคารนี้สร้างก่อนได้รับอิทธิพลจากตะวันตกในสมัยหลัง แม้จะมีการใช้ช่องหน้าต่างโค้งแหลมขนาดเล็กที่บริเวณใต้หน้าทิศตะวันออกก็ตาม แต่ตัวอาคาร ซุ้มประตู หน้าต่าง ล้วนเป็นศิลปะไทยในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทั้งสิ้น ภายในอาคารมีร่องรอยฐานชุกชีขนาดใหญ่ (ฐานชุกชีคือฐานปูนสำหรับประดิษฐานพระพุทธรูป) บ่งว่าเคยใช้เป็นหอประจำพระราชวัง เพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญที่พระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างขึ้นเพื่ออัญเชิญมาจากหัวเมืองอื่น ดังนั้นชื่อ 'พระเจ้าเหา'อาจเป็นชื่อของพระพุทธรูปก็เป็นได้

     

    นอกจากนี้ยังมีอีกข้อสันนิษฐานหนึ่งที่ม.ร.ว.คึกฤทธิ์ ปราโมชเคยระบุว่า 'พระเจ้าเหา' เป็นชื่อตึกหลังหนึ่งในพระนารายณ์ราชนิเวศน์ จังหวัดลพบุรี ซึ่งรัชกาลที่ 5 มีพระราชวิจารณ์ว่าคำว่าเหาสันนิษฐานว่าเป็นภาษาเขมร หมายถึงรับสั่งให้เข้าหา หรือเข้าประชุม

     

    อ่านเพิ่มเติม >> สัมผัส “ละโว้” ในความรุ่งเรืองของ นารายณ์ราชนิเวศน์

     

    บุพเพสันนิวาส ย้อนหลัง และ เรื่องย่อ ละครช่อง 3

     

    "บุพเพสันนิวาส" เรตติ้งโหดมาก ก้าวกระโดดขึ้นเลข 2 หลัก

     

    สมจริง! ภาพจำลองฉากประวัติศาสตร์ ถวายสาสน์พระนารายณ์ "บุพเพสันนิวาส"

     

    ละคร 'บุพเพสันนิวาส' จะพา 'ช่อง 3' ย้อนยุคกลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง?

     

     

     

     

     

     

     

    ขอขอบคุณ

    ข้อมูล :เรารัก"ลพบุรี"