เรื่องควรรู้และขั้นตอนการสร้างบ้าน

เรื่องควรรู้และขั้นตอนการสร้างบ้าน

เรื่องควรรู้และขั้นตอนการสร้างบ้าน
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

สำหรับผู้ที่อยากจะปลูกแบบบ้านใหม่บนที่ดินของตัวเอง หรือผู้ที่กำลังจะหาซื้อบ้านใหม่ แต่มองไปทางไหนก็เห็นแต่แบบบ้านจัดสรร วันนี้เรามีอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับผู้ที่อยากจะหลีกหนีความซ้ำซากจำเจของแบบบ้านจัดสรรและยังช่วยให้ได้แบบบ้านที่ตรงกับความต้องการใช้งานและสวยงามถูกใจเจ้าของบ้านจริง ๆ ภายใต้งบประมาณที่อาจจะไม่แตกต่างกันเลย การสร้างบ้านที่มีรูปแบบเป็นของตัวเองจึงเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ไม่ยากเกินไปสำหรับคนที่อยากจะปลูกบ้านใหม่ เริ่มต้นยังไงเรามีข้อควรรู้มาฝากค่ะ

-งบประมาณก่อสร้าง ไม่เกิน 10 ล้านบาท จะคิดค่าออกแบบบ้าน 7.5% ของงบประมาณ     

-การตกแต่งภายใน ถ้างบประมาณก่อสร้างไม่เกิน 10ล้าน จะคิดค่าออกแบบบ้าน 10% ของงบประมาณ ถ้างบประมาณมากกว่านี้ สัดส่วนของค่าออกแบบ ทั้ง 2 ชนิดจะลดลง

โดยขั้นตอนของการออกแบบบ้านและตกแต่งภายในจะเป็นแบ่ง 6 ขั้นตอนคือ 

H-CAPE RESIDENCE @ SIAMPARKH-CAPE RESIDENCE @ SIAMPARK

1.ขั้นการให้คำปรึกษา ขั้นตอนนี้เป็นการพบปะพูดคุยกันระหว่างนักออกแบบและลูกค้า เพื่อรวบรวมข้อมูลและความต้องการของลูกค้า ส่วนใหญ่แล้วจะมีการพูดคุยกันมากกว่าหนึ่งครั้ง เพื่อดูความสามารถและรูปแบบงานของผู้ออกแบบบ้านและดูว่าสามารถทำงานร่วมกันได้หรือไม่  ส่วนมากขั้นตอนนี้นักออกแบบจะไม่เก็บค่าบริการหรือคิดค่าบริการเพียงเล็กน้อย เนื่องจากเป็นขั้นตอนการพิจารณาว่าจะรับงานหรือไม่

2.ขั้นการวางผัง และแนวความคิดนักออกแบบจะนำเสนอภาพรวมคร่าวๆ ของบ้านในด้านแนวความคิด รูปแบบและการแบ่งพื้นที่ใช้สอย เพื่อให้ลูกค้ามองเห็นภาพรวมว่าตรงตามความต้องการหรือไม่ และมีการแก้ไขและพัฒนาไปสู่แบบร่างขั้นต่อไป 

3.ขั้นการพัฒนาแบบร่างขั้นต้น  สำหรับขั้นตอนนี้นักออกแบบจะนำแนวความคิดและภาพรวมที่ได้จากขั้นตอนที่แล้วมาพัฒนาโดยอาจจะนำเสนอในรูปแบบของหุ่นจำลอง( Model )  ภาพร่าง( Sketch ) หรือ รูปทัศนียภาพ( Perspective ) เพื่อให้ลูกค้าเข้าใจแบบได้อย่างดีมากยิ่งขึ้น และสิ่งที่ลูกค้าต้องการปรับปรุงและเพิ่มเติมในแบบไปพัฒนาต่อ

4.ขั้นการพัฒนาแบบร่างขั้นสุดท้าย  ขั้นตอนนี้นักออกแบบจะนำเสนองานในรูปแบบที่เหมือนจริงมากยิ่งขึ้นด้วยการทำหุ่นจำลอง ( Model ) หรือ รูปทัศนียภาพ ( Perspective )แสดงรายละเอียดของมุมมองต่าง ๆ ในบ้าน เพื่อให้ลูกค้าได้แก้ไขในรายละเอียด

5.ขั้นการกำหนดวัสดุตกแต่งภายใน  ขั้นตอนนี้นักออกแบบจะนำข้อมูลของวัสดุมาให้ลูกค้าเลือกอ้างอิงจากแบบร่างครั้งก่อน โดยการจัดทำเป็นแผ่นกำหนดวัสดุตกแต่ง หรือ Material Board เพื่อให้ลูกค้าได้เปรียบเทียบและเลือกดูได้ตามความพอใจ

6.ขั้นการเขียนแบบรายละเอียด  ขั้นตอนนี้จะใช้เวลาประมาณ 20-30 วันเนื่องจากนักออกแบบจะนำแบบร่างและรายการวัสดุที่ลูกค้าได้เลือกมาอ้างอิงเพื่อเขียนแบบรายละเอียดและส่งให้ลูกค้าตรวจดูเพื่อแก้ไขและพิจารณาก่อนจะดำเนินการเขียนแบบจริง 

AP the cityAP the city

ขั้นตอนต่อไปคือ ขออนุญาตปลูกแบบบ้าน หลังจากได้คุยกับสถาปนิกแล้วสถาปนิกและวิศวกรจะร่วมกันเขียนแบบและปรับปรุงแบบบ้านจนเป็นที่พอใจของเจ้าของบ้าน หลังจากนั้นต้องนำไปขออนุญาตจากทางเทศบาลโดยต้องกรอกเอกสารต่าง ๆ ได้แก่ กรอกคำขออนุญาตก่อสร้างอาคาร ดัดแปลงอาคารหรือรื้อถอนอาคาร (ข.1) , แบบแปลนแผนผัง จำนวน 5 ชุด,หนังสือรับรองว่าเป็นผู้ออกแบบ สถาปนิก และ วิศวกร พร้อมสำเนาใบอนุญาต ,สำเนาโฉนดที่ดินที่จะก่อสร้าง ,สำเนาบัตรประชาชน หรือทะเบียนบ้านเจ้าของ

ขั้นตอนการปลูกสร้าง เป็นขั้นตอนที่ลูกค้าจะได้เห็นงานจริง ตั้งแต่เริ่มต้น โดยในขั้นตอนนี้ สถาปนิกและวิศวกรผู้ออกแบบแบบรวมทั้งเจ้าของบ้านจะต้องให้ความสำคัญและใส่ใจในรายละเอียด โดยสถาปนิกจะต้องคอยควบคุมดูแลให้การก่อสร้างดำเนินไปตามแบบที่สางเอาไว้และให้คำปรึกษาแก้ผู้รับเหมาเมื่อเกิดปัญหาในการก่อสร้างหน้างาน  โดยจะแบ่งตามลำดับขั้นตอนการก่อสร้าง คือ

ขั้นตอนที่ 1 ตอกเข็มหล่อฐานราก คานคอดิน และ ตั้งเสาชั้นล่าง

ขั้นตอนที่ 2 หล่อคานชั้นบน และเสาสำหรับรับ หลังคาชั้น 2

ขั้นตอนที่ 3 มุงหลังคา ก่ออิฐผนัง ฉาบปูน ติดตั้ง วงกบ ใส่ฝ้าเพดาน

ขั้นตอนที่ 4 ปูวัสดุพื้น ติดตั้งประตู หน้าต่าง ติด ตั้งระบบท่อน้ำ

ขั้นตอนที่ 5 บุผนังกระเบื้อง ติดตั้งสุขภัณฑ์ ทาสี เดินสายไฟ ติดตั้งดวงโคม เก็บรายละเอียดส่วนที่เหลือให้ เรียบร้อย

จะเห็นได้ว่าการตัดสินใจสร้างแบบบ้านขึ้นมาสักหลังหนึ่งเป็นเรื่องใหญ่เพราะการสร้างบ้านนั้นจะต้องใช้เงินจำนวนมากและใช้งานในระยะยาวเป็นสิบปีหรือเป็นร้อยปี ถ้าหากแบบบ้านออกมาดีก็จะนำความสุขสบายมาสู่ผู้ที่อยู่อาศัย ดังนั้น นอกจากจะต้องตัดสินใจอย่างรอบคอบแล้ว เจ้าของบ้านควรจะต้องใส่ใจในการศึกษาหาข้อมูล ตั้งแต่ขั้นตอนแรกและคอยตรวจตราการดำเนินการก่อสร้างอย่างสม่ำเสมอเพราะเมื่อปัญหาและมีข้อผิดพลาดจะได้สามารถปรึกษาสถาปนิกหรือวิศวกรผู้ออกแบบให้ดำเนินการแก้ไขได้ทัน

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook