รอบรู้การเดินท่อประปา หมดปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ

รอบรู้การเดินท่อประปา หมดปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ

รอบรู้การเดินท่อประปา หมดปัญหาเรื่องแรงดันน้ำ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

วีคนี้ มีคำถามจากทางบ้านเข้ามา ว่า “หากต้องการเดินท่อประปาชั้นล่างจากถังเก็บน้ำโดยตรง แบบไม่ต้องผ่านปั๊มน้ำ ส่วนชั้น 2 ต้องการใช้น้ำจากปั๊มน้ำ จะสามารถทำได้หรือไม่? และจะมีผลเสียอย่างไร? ไปหาคำตอบพร้อมกันเลย

โดยทั่วไปแล้วการเดินท่อประปาภายในบ้าน จะมีอยู่ 2 ชนิด คือการเดินท่อแบบลอย  และการเดินท่อแบบฝัง สำหรับการเดินท่อแบบลอยนั้นช่างส่วนใหญ่นิยมเดินท่อแบบติดกับผนัง หรือวางบนพื้น ซึ่งการเดินท่อแบบนี้จะสามารถซ่อมแซมได้ง่ายเมื่อเกิดปัญหา เหมาะสำหรับเจ้าของบ้านที่ชื่นชอบการตกแต่งแบบ Industrial Style ที่เน้นพื้นที่เปิดโล่ง และมองเห็นโครงสร้างของวัสดุที่ใช้อย่างชัดเจน

ส่วนการเดินท่อแบบฝัง ช่างจะเจาะสกัดผนัง แล้วเดินท่อประปา เมื่อวางระบบเสร็จเรียบร้อยแล้วก็ฉาบปูนทับ หรือ อาจจะเดินซ่อนไว้ใต้เพดาน เพื่อความเรียบร้อยสวยงาม แต่เวลามีปัญหาอาจจะซ่อมแซมยากกว่าการเดินท่อแบบลอยครับ

สำหรับคำถามที่ต้องการปรับเปลี่ยนการเชื่อมต่อท่อบายพาสจากเดิม ที่ต่อท่อประปาออกมาจากถังเก็บน้ำ มาเป็นการเชื่อมต่อจากมิเตอร์ประปา ก่อนผ่านวาล์วตัวแรก (ตามภาพแผนผังจากทางบ้าน) ซึ่งลักษณะการเดินท่อแบบเดิมทำให้เกิดปัญหาเรื่องแรงดันน้ำไม่เพียงพอต้องความต้องการใช้งาน 

เนื่องจากแรงดันน้ำดังกล่าว เกิดจากระดับความสูงของน้ำในถังเก็บน้ำ ซึ่งถ้าน้ำในถังมีระดับสูง แรงดันน้ำก็จะพอมี แต่ก็ไม่น่าเพียงพอต่อการใช้งานภายในบ้าน และถ้าน้ำในถังมีระดับต่ำ ก็แถบจะไม่มีแรงดันน้ำในท่อประปาเลยครับ

หากถังสำรองน้ำของคุณอยู่สูงระดับพื้นดิน การเดินท่อบายพาสต้องเริ่มใส่สามทาง โดยเริ่มเดินท่อตั้งแต่ก่อนวาวล์ 1 เพื่อให้ใช้น้ำประปาตรงได้ เพราะผังการเดินท่อจากถังเก็บน้ำ (ตามภาพจากทางบ้าน) ที่ระดับเดียวกับส่วนของชั้น 1 นั้น ไม่สามารถทำให้แรงดันน้ำเพิ่มขึ้นมาได้ครับ ส่วนวาวล์หมายเลข 3 จริงๆ แล้ว ไม่ค่อยมีบทบาทมากนัก แต่มีไว้สำรองก็จะช่วยให้ให้สามารถถอดแยกปั๊มน้ำออกไปซ่อมได้ ในกรณีที่ปั้มน้ำเสีย

สำหรับเช็ควาวล์แนะนำให้ติดตั้งเช็ควาวล์แบบสวิงครับ  เพราะหากคุณเลือกใช้เช็ควาวล์แบบสปริงแล้ว จะทำให้สูญเสียแรงดันน้ำกับวาวล์แบบสปริงมากเกินไป ซึ่งจะส่งผลให้น้ำประปาไหลเบาลงอย่างเห็นได้ชัด

ดังนั้น ควรใช้น้ำที่มาจากมิเตอร์ประปาเลยจะดีกว่า เพราะในระบบประปาจะมีแรงดันน้ำประมาณ 1 บาร์ ซึ่งมากกว่าแรงดันที่ได้รับจากน้ำในถังเก็บน้ำ โดยสามารถเดินท่อประปาได้ตามแผนผังภาพด้านล่างนี้

TIPS:

  • ตรวจสอบอุปกรณ์ประปาภายในบ้านได้ด้วยตัวเอง โดยการปิดก๊อกที่มีอยู่ทั้งหมดแล้วสังเกตที่มาตรวัดน้ำ ถ้าตัวเลขเคลื่อนแสดงว่า มีการรั่วไหลเกิดขึ้น ซึ่งอาจจะเกิดจากการรั่วซึม หรือ อาจจะมีอุปกรณ์บางอย่างแตกหักชำรุด
  • ตรวจสอบการรั่วไหลของน้ำในเส้นท่อที่อยู่ภายนอกบ้านได้ โดยการสังเกตบริเวณพื้นดินที่เดินท่อประปา หากพื้นดินบริเวณนั้น มีการทรุดตัวลงต่ำกว่าบริเวณอื่น หรือ มีน้ำซึมอยู่ตลอดเวลา อาจจะเกิดจากปัญหาการรั่วซึม หรือ ชำรุดของอุปกรณ์บางอย่างได้เช่นกันครับ

ก่อนจบ entry นี้ หวังว่า แผนผังการเดินท่อประปา และวิธีการตรวจสอบอุปกรณ์ต่างๆ ที่นำมาฝากกัน จะเป็นอีกหนึ่งแนวทางแก้ปัญหาสำหรับเจ้าของบ้าน ที่กำลังประสบปัญหาดังกล่าวอยู่

**สอบถามรายละเอียดเกี่ยวกับการวางระบบต่างๆ ภายในบ้าน และปรึกษาทีมช่างผู้เชี่ยวชาญด้วยตนเองได้ที่ COTTO STUDIO ทุกสาขา

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook