มารู้จักรูปทรงหลังคาแบบต่างๆ กันดีกว่า

มารู้จักรูปทรงหลังคาแบบต่างๆ กันดีกว่า

มารู้จักรูปทรงหลังคาแบบต่างๆ กันดีกว่า
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เลือกหลังคาก็เหมือนการเลือกเครื่องประดับชิ้นสำคัญให้กับตัวบ้าน เราควรเลือกให้เหมาะสมกับลักษณะของบ้าน สภาพแวดล้อม อากาศต่างๆ เจ้าของบ้านหลายคนก็มีความรู้ แต่กับอีกหลายๆ คนยังไม่เคยนั่งพิจารณาเรื่องหลังคาบ้านเลยว่า หลังคาบ้านนั้นมีรูปแบบใดบ้าง ว่าแล้วมาทำความรู้จักกันเลยดีกว่าค่ะ

1.ทรงจั่ว หลังคาประเภทนี้จะมีปัญหาการรั่วซึมน้อยมาก เนื่องจากมุมองศาที่มีความลาดเอียง เมื่อฝนตก จะทำให้น้ำไหลสู่ด้านล่างได้อย่างรวดเร็ว ลดการแตกหักของวัสดุมุงหลังคาจากลม ฝน ลูกเห็บ หรือกิ่งไม้ต่างๆ หากมีการรั่วซึมก็มักไม่สร้างปัญหามากนัก แต่มีข้อเสียคือหากทิศทางของฝนสาดเข้าจั่วบ้าน อาจทำให้มีน้ำซึมเข้าบ้านได้ ทางแก้คืออาจต้องติดตั้งกันสาด หรือชายคาบ้าน

2.ทรงปั้นหยา หลังคาทรงนี้จะมีมุมลาดเอียงน้อยกว่าแบบจั่ว ลักษณะของหลังคาจะครอบคลุมทุกทิศทางของบ้าน โดยส่วนบนสุดของหลังคาจะเป็นจุดยอดรวมของแต่ละด้าน หลังคาทรงนี้สามารถกันแดดกันฝนได้ทุกด้าน สวยงาม ทนต่อการปะทะของแรงลมได้ดี

3.ทรงปีกผีเสื้อ เป็นโครงหลังคาที่แหงนออกทั้งสองด้าน โดยด้านนอกเป็นมุมสูง ตรงกลางจะเป็นมุมต่ำ ลักษณะคล้ายผีเสื้อกระพือปีกบิน ส่วนตรงกลางมักทำเป็นรางน้ำ อาจให้เอนมาด้านใดด้านหนึ่ง เป็นหลังคาที่สามารถรองรับน้ำฝนได้ดีกว่าหลังคาแบบอื่น รวมถึงให้ความเป็นโมเดิร์น ทันสมัย

4.ทรงเพิงหมาแหงน เป็นหลังคาที่มีลักษณะแบนราบแต่ลาดเอียงโดยยกด้านหน้าสูงกว่าด้านหลัง และมีเชิงชายรอบตัวบ้าน โดยอาจจะออกแบบให้ด้านหน้ามีเชิงชายยื่นออกมามากกว่าด้านอื่นๆ เล็กน้อยเพื่อให้บังแดดด้านหน้าบ้านได้ดี และการทำลาดเอียงจะช่วยระบายน้ำฝนได้เร็วอีกด้วย โดยทั่วไปเราอาจจะพบเห็นหลังคาเพิงหมาแหงนในบ้านที่มีรูปทรงแบบโมเดิร์น

5.ทรงโค้งกลม จากหลังคาทั้งหมดที่กล่าวมา เป็นลักษณะของหลังคาที่ต้องใช้ร่วมกับกระเบื้องประเภทต่างๆ แต่สำหรับหลังคากลม แน่นอนว่าไม่สามารถใช้กระเบื้องได้ แต่ต้องใช้โลหะรีดลอน หรือวัสดุสังเคราะห์จากไฟเบอร์กลาสหุ้ม ซึ่งถ้าหากโครงสร้างมีรัศมีน้อยกว่าค่ามาตรฐานของผู้ผลิต อาจทำให้เกิดการซ้อนทับกันของแผ่นหลังคาไม่แนบสนิท และน้ำรั่วซึมได้

6.ทรงแบน เป็นทรงยอดนิยมสำหรับบ้านสมัยใหม่ บางคนอาจเรียกว่า บ้านไม่มีหลังคา หรือบ้านหลังคาเปลือย พื้นที่หลังคาจึงเป็นที่รับน้ำฝนโดยตรง ควรมีการป้องกันการรั่วซึมที่ดี เช่น ในระหว่างการเทปูนในช่วงก่อสร้างควรปรับระดับความชันของหลังคาให้ดีไม่มีส่วนน้ำขังและผสมน้ำยากันซึมในคอนกรีต หรือเสริมแผ่นกันซึมบนผิวคอนกรีต เป็นต้น

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook