20 วิธีป้องกันภัย เมื่อ “ผู้สูงวัยต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง”

20 วิธีป้องกันภัย เมื่อ “ผู้สูงวัยต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง”

20 วิธีป้องกันภัย เมื่อ “ผู้สูงวัยต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง”
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

จากเหตุการณ์ "ฆาตกรต่อเนื่อง" ฆ่า-ข่มขืนหญิงชราและชิงทรัพย์ ทำให้หลายๆ คนเริ่มรู้สึกกังวล โดยเฉพาะบรรดาผู้สูงอายุหญิงที่ต้องอยู่บ้านเพียงลำพัง นอกจากนั้นบรรดาลูกๆ หลานๆ ที่ต้องไปพักอาศัยนอกบ้าน นานๆ ถึงจะมีเวลากลับมาเยี่ยมผู้หลัก ผู้ใหญ่สักครั้งก็เริ่มรู้สึกเป็นห่วงในความปลอดภัยของบุคคลที่ตนเองรัก

Sanook ! Home จึงรวบรวมวิธีป้องกันภัยจากผู้ไม่ประสงค์ดีที่จะบุกเข้ามาในบ้าน เพื่อเป็นข้อแนะนำสำหรับหญิงชรา หรือบรรดาลูกๆ หลานๆ จะได้เตรียมตัว หรือติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันภัย และจะได้อยู่บ้านอย่างอุ่นใจ นอนหลับสบายไร้กังวลมาฝากทุกคนค่ะ

1.ติดตั้งกุญแจล็อคคุณภาพดีตามประตูด้านนอกทุกจุด

2.ติดตั้งกล้องวงจรปิด สัญญาณกันขโมยบ้าน หรือสัญญาณเตือนภัยประเภทออด หรือกระดิ่งไฟฟ้า เพื่อบอกให้ทราบว่ามีเหตุการณ์หรือสิ่ง ผิดปกติ กำลังจะเกิดขึ้นหรือเกิดขึ้นที่ไหนอย่างไร

3.หากต้องการเปิดหน้าต่างเพื่อระบายอากาศ ควรเปิดแง้มไว้เพียงช่องเล็กๆ เพื่อป้องกันไม่ให้โจรอาศัยเป็นช่องทางย่องเข้ามาโจรกรรม

4.ตัดกิ่งไม้ที่บดบังบริเวณหน้าต่าง หรือประตูบ้าน เพื่อให้เพื่อนบ้านหรือคนที่เดินผ่านไปมาสามารถมองเห็นเวลามีโจรคิดจะเข้ามา งัดแงะบ้านของเรา

5.ติดตั้งไฟส่องสว่างบริเวณหน้าบ้าน ทางเข้า ทางเดิน และหากเลี้ยงสุนัขไว้สำหรับเฝ้าบ้านด้วยจะยิ่งเป็นสิ่งที่ดี

6.หาก มีคนมาหา ก่อนออกไปเปิดประตูให้มองผ่านจากด้านในก่อนว่าบุคคลนั้นเป็นใคร มีความน่าไว้วางใจมากน้อยเพียงใด อย่าเปิดรับคนแปลกหน้าเข้ามาภายในบ้าน รวมทั้งอย่าบอกว่าท่านอยู่บ้านเพียงลำพัง

7.จำไว้ว่าอย่าเปิดประตูรับคนแปลกหน้าไม่ว่าจะในกรณีใดก็ตาม

8. ล็อคประตูบ้านเสมอเมื่อท่านจะออกไปข้างนอก แเม้จะออกไปเพียงไม่นาน

9. ปิดผ้าม่านให้สนิท และเปิดไฟทิ้งไว้ในช่วงเวลากลางคืน

10.จดเบอร์โทรศัพท์หรือบันทึกเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินที่มีความจำเป็นติดบ้านไว้เสมอ

11.สอนให้ผู้สูงอายุใช้โทรศัพท์มือถือขั้นตอนง่ายๆ ให้เป็น โดยเฉพาะการโทรออกไปยังเบอร์สำคัญต่างๆ เช่นเบอร์ของลูกๆ หลานๆ รวมทั้งอย่าลืมบันทึกเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ในเครื่อง นอกจากนั้นคุณอาจตั้งค่าการกดเบอร์ฉุกเฉินไว้ในเครื่อง และอธิบายการใช้งานให้ท่านเข้าใจ

12.โทรศัพท์สำหรับผู้สูงอายุควรมีปุ่มกดใหญ่ๆ มองเห็นตัวเลขได้อย่างชัดเจน เสียงลำโพงดังชัดเจน หน้าจอขนาดใหญ่ และอาจมีปุ่มกดแจ้งสัญญาณฉุกเฉินไว้กับตัวเครื่องด้วย

13.กรณีมีโทรศัพท์โทรเข้ามาผิด อย่าบอกหมายเลขโทรศัพท์ของท่านเด็ดขาด

14.อย่าบอกที่อยู่กับคนที่โทรศัพท์เข้ามาผิด

15.หากมีโทรศัพท์โรคจิต โทรมาข่มขู่ หรือลวนลามทางวาจา ฯลฯ ให้รีบวางโทรศัพท์ทันที

16. หากท่านออกไปข้างนอก และกลับมาถึงบ้านควรเตรียมกุญแจบ้านให้เรียบร้อยก่อนจะไขประตูเข้ามา ไม่ใช่ควานหากุญแจบริเวณหน้าบ้าน เพราะหากมีคนร้ายซุ่มอยู่ พวกเขาอาจอาศัยจังหวะที่คุณกำลังก้มหากุญแจและเข้ามาทำร้ายก็เป็นได้

17.หากคุณกลับมาถึงบ้านในเวลากลางคืน ให้เปิดไฟหน้ารถทิ้งไว้ ล็อคประตูรถ สอดส่องบริเวณรอบๆ บ้านหรือโรงจอดรถก่อนจะนำรถเข้ามาจอดภายในบ้าน

18.หาก พบความผิดปกติ เช่นประตูบ้านเปิดทิ้งไว้ หน้าต่างมีร่องรอยถูกงัด ให้ออกจากบริเวณนั้น และไปที่สถานีตำรวจที่ใกล้ที่สุด หรือโทรศัพท์แจ้ง 191

19.บาง ท่านที่มีกุญแจสำรอง อย่าซ่อนกุญแจไว้ในตู้จดหมาย หรือกระถางต้นไม้หน้าบ้าน หรือจุดใดที่พบได้โดยง่าย จะช่วยป้องกันเหตุร้ายได้ในระดับหนึ่ง

20.เก็บอุปกรณ์ประเภทมีด ท่อนเหล็ก หรือวัสดุที่คนร้ายจะสามารถนำมางัดแงะประตู หน้าต่าง ที่ปกติอยู่นอกบ้าน เข้ามาไว้ในบ้าน ป้องกันการที่คนร้ายนำอุปกรณ์เหล่านั้นมางัดแงะบ้าน

Sanook!Home หวังว่า 20 วิธีเหล่านี้จะช่วยทำให้ผู้สูงอายุอยู่บ้านอย่างปลอดภัย แต่ถึงอย่างไร ลูกๆ หลานๆ ก็ควรหมั่นมาดูแล เยี่ยมเยียนพวกท่านบ้าง พร้อมกันนี้ยังได้รวบรวมเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉินไว้ให้ด้วยนะคะ

หมายเลขโทรศัพท์ฉุกเฉิน

เหตุด่วนเหตุร้าย 191

กองปราบปราม 1195

ตำรวจท่องเที่ยว 1155

ตำรวจทางหลวง 1193

ศูนย์ควบคุมจราจร 1197

ศูนย์ส่งกลับและรถพยาบาลตำรวจ 1691

สายด่วนอาชญากรรม จังหวัดชายแดนใต้ 340

ศูนย์รับแจ้งข่าวยาเสพติด สนง.ตำรวจแห่งชาติ1688

ศูนย์แจ้งอุบัติภัย กองทัพเรือ 1696

แจ้งเหตุทางน้ำ กองบัญชาการตำรวจ 1196

ศูนย์ปลอดภัยทางน้ำ 1199

ศูนย์ดับเพลิงศรีอยุธยา 199

แจ้งเหตุฉุกเฉิน สารเคมี ควบคุมมลพิษ 1650

แจ้งเจ็บป่วยฉุกเฉิน ศูนย์นเรนทร 1669

ศูนย์ประสานงานฉุกเฉิน 24 ชม. 0-2226-4444

สายด่วนแจ้งเหตุสาธารณภัย (ปภ.) 24 ชม. 1784

หน่วยแพทย์กู้ชีวิต วชิรพยาบาล 1554

สถานีวิทยุชุมชน ร่วมด้วยช่วยกัน 1677

จส.100 1137 , 0-2711-9151-8

สถานีวิทยุ สวพ.91 1644

ศูนย์วิทยุ กรุงธน 0-2455-0088

ศูนย์วิทยุรามา 0-2246-0999

ศูนย์รับแจ้งเด็กหาย 0-2282-1815

ศูนย์รับเรื่องร้องทุกข์ กทม.24 ชม. 1555

ภาพจาก www.istockphoto.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook