เช็ก 4 อาการอุปกรณ์ไฟฟ้า เสี่ยงไฟรั่ว-ไฟช็อต-ไฟเกิน เพิ่มความปลอดภัยเมื่อต้องอยู่บ้านยาวๆ

เช็ก 4 อาการอุปกรณ์ไฟฟ้า เสี่ยงไฟรั่ว-ไฟช็อต-ไฟเกิน เพิ่มความปลอดภัยเมื่อต้องอยู่บ้านยาวๆ

เช็ก 4 อาการอุปกรณ์ไฟฟ้า เสี่ยงไฟรั่ว-ไฟช็อต-ไฟเกิน เพิ่มความปลอดภัยเมื่อต้องอยู่บ้านยาวๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ผู้เชี่ยวชาญด้านวิศวกรรมไฟฟ้า สภาวิศวกร ชวนคนไทยเช็ก 4 อาการอุปกรณ์ไฟฟ้าในบ้าน เสี่ยงไฟดูด-ไฟช็อต-ไฟเกิน กรณีมีการใช้ไฟฟ้าปริมาณมากจากการกักตัวอยู่บ้านยาวนานช่วงโควิด ดังนี้ สายไฟถลอกหรือชำรุด เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหรือชำรุด จุดต่อหลวมเสียหรือชำรุด สัตว์หรือสิ่งของเป็นส่วนนำกระแสไฟฟ้า แนะติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่ว ตัวช่วยตัดไฟฟ้าอัตโนมัติ กรณีกระแสไฟฟ้าที่ไหลผ่านเข้ามีค่าไม่เท่ากระแสไฟฟ้าที่ไหลออก หนุนสร้างความปลอดภัยในการใช้ไฟฟ้า และป้องกันอุบัติเหตุจากการถูกไฟฟ้าดูด พร้อมย้ำทุกครัวเรือน! หมั่นตรวจสอบและบำรุงรักษาอุปกรณ์-ระบบไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง หรือขอคำปรึกษาเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนสภาวิศวกร 1303 ไลน์ไอดี @coethai หรือแอปฯ รวมช่าง จากกรมพัฒนาฝีมือแรงงาน ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันเหตุอันตรายจากภาวะดังกล่าว ผู้ใช้งานจึงควรสังเกต 3 อาการเสี่ยงไฟดูด-ไฟช็อต-ไฟเกิน ของอุปกรณ์ไฟฟ้า ดังนี้

  • สายไฟถลอกหรือชำรุด กรณีที่มีการเดินระบบสายไฟบริเวณผนังหรือฝ้าเพดานบ้าน อาจจะส่งผลให้ฉนวนสายไฟเกิดการถลอกได้ ดังนั้น จึงควรแจ้งให้ผู้รับเหมาหรือวิศวกรผู้เชี่ยวชาญ ทำการทดสอบค่าความเป็นฉนวนทุกครั้ง เพื่อป้องกันฉนวนสายไฟชำรุดหรือสึกหรอ
  • เครื่องใช้ไฟฟ้าเสียหรือชำรุด เครื่องใช้ไฟฟ้าทุกชนิดมีอายุการใช้งานที่เหมาะสม แต่ในกรณีที่ใช้งานนานต่อเนื่อง เช่น การเปิดพัดลมไว้นานหลายชั่วโมง อาจจะส่งผลให้มอเตอร์พัดลมมีความร้อนสูงและนำไปสู่การไหม้ได้ ดังนั้น หากพัดลมมีอาการดังกล่าว ควรปิดวงจรและดึงปลั๊กออกจากเต้าเสียบทันที
  • จุดต่อหลวม เสีย หรือชำรุด ถือเป็นปัญหาใหญ่ระดับหนึ่ง ในกรณีที่ช่างไฟฟ้าติดตั้งไม่ได้คุณภาพ อาจจะทำให้จุดต่อของปลั๊กไฟ หรืออุปกรณ์ไฟฟ้าหลวมได้ และอาจจะเกิดอันตรายในที่สุด
  • สัตว์หรือสิ่งของบางประเภท (เช่น โลหะ) เป็นส่วนนำกระแสไฟฟ้า ในช่วงอากาศชื้น หรือหลังฝนตก สัตว์จำพวกมดและปลวก มักทำรังบริเวณที่มีความอบอุ่น ดังนั้น หากสังเกตพบสัตว์ดังกล่าว เดินทางเป็นแนวยาวไปยังบริเวณเต้ารับหรือสวิตช์ (กระดิ่งกดหน้าบ้าน) ต้องรีบกำจัดเพื่อป้องกันการช็อต-รั่วของระบบไฟฟ้าภายใน

ติดตามข่าวสารและกิจกรรมความเคลื่อนไหวของสภาวิศวกรได้ที่ เว็บไซต์ www.coe.or.th เฟซบุ๊กแฟนเพจ www.facebook.com/coethailand และยูทูบแชลแนล “COE Thailand” หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมติดต่อ สายด่วนสภาวิศวกร 1303 และไลน์ไอดี @coethai 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook