เรื่อง “รั่วๆ” ใน “บ้าน” ที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

เรื่อง “รั่วๆ” ใน “บ้าน” ที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ

เรื่อง “รั่วๆ” ใน “บ้าน” ที่ไม่ใช่เรื่องเล่นๆ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

เรื่องนิสัย “รั่ว” ของเราอาจจะยังไม่น่ากลัวเท่ากับเรื่อง “รั่ว” ที่เกิดขึ้นในบ้านของเรา เกริ่นมาซะขนาดนี้แล้วไม่รู้ว่าทราบกันหรือยังว่า Sanook!Home กำลังจะนำเสนอเรื่องอะไร

สำหรับเรื่อง “รั่ว” ในบ้านที่อันตรายได้แก่ “แก๊สรั่ว” และ “ไฟรั่ว” ซึ่งล้วนเป็นเรื่องรั่วๆ ที่เราต้องระมัดระวังให้มาก ว่าแต่จะทำอย่างไรกับเรื่องรั่วเหล่านี้ดี

แก๊สรั่ว หลายครั้งที่บ้านเราเกิดไฟไหม้เพราะ "แก๊สรั่ว" อาจเป็นเพราะเราประมาท ไม่ระมัดระวังถึงอันตรายที่เกิดขึ้นแบบใกล้ๆ ตัว แต่เมื่อเกิดขึ้นแล้ว กลายเป็นความเสียหายใหญ่หลวง

ข้อปฏิบัติเมื่อแก๊สรั่ว

-ห้ามน้ำวัตถุไวไฟหรือทำให้เกิดประกายไฟในบริเวณที่มีแก๊สรั่วอย่างเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดไฟลุกไหม้และระเบิดได้

-หากแก๊สรั่วให้เปิดหน้าต่างทุกบานที่อยู่ในบริเวณนั้น เพื่อระบายอากาศให้ถ่ายเทสะดวก แก๊สจะได้ไม่สะสมอยู่ในบริเวณนั้น

-หากแก๊สรั่วให้ใช้พัดหรือวัสดุไม่นำไฟฟ้า พัดโบกไล่อากาศให้แก๊สเจือจาง

-ถ้าแก๊สรั่วบริเวณถังให้ย้ายถังออกมาไว้ในที่โล่งและห่างไกลจากบริเวณที่พักอาศัยและรีบแจ้งสถานีดับเพลิงทันที

-ถ้าแก๊สรั่วที่สาย ท่อ หรือรอยต่อ ให้ปิดแก๊สที่วาล์วถังแก๊สโดยเร็ว แล้วแจ้งให้ร้านค้าที่มาส่งแก๊สมาตรวจสอบ

-ห้ามใช้มืออุดรอยรั่วตรงท่อสายยางเด็ดขาด เพราะจะทำให้เกิดอันตรายได้

-หากมีเหตุด่วน เหตุร้าย ประสบเหตุไฟไหม้ ให้แจ้งดับเพลิงสายด่วนโทร 199

ป้องกันแก๊สรั่วได้อย่างไร

-ปิดวาล์วถังแก๊สทุกครั้งหลังใช้งาน

-เมื่อใช้เตาแก๊สควรหมั่นตรวจตราอยู่เสมอ ทั้งเกลียววาล์วเปิด-ปิด ว่ายังใช้ได้ดีอยู่ไหม สายอ่อนนำแก๊สหักงอหรือไม่ ถ้าชำรุดให้ซ่อมหรือเปลี่ยนใหม่

-เมื่อแก๊สรั่ว เราจะได้กลิ่นซึ่งมีกลิ่นเหมือนจุดไฟแช๊กแล้วเอามาอังที่จมูก หากจะให้รู้แบบแน่ๆ คือนำน้ำยาล้างจาน หรือน้ำสบู่ลูบตามจุดต่างๆ เช่นวาล์วถังแก๊ส แกนลูกบิดสำหรับเปิด-ปิดเตาแก๊สที่สายอ่อนนำแก๊ส และบริเวณข้อต่อต่างๆ ถ้าเกิดฟองอากาศแสดงว่ามีการรั่วซึมของแก๊ส

ไฟรั่ว บ้านเรามีเครื่องใช้ไฟฟ้าหลายชนิด ดังนั้นจึงต้องหมั่นตรวจตราความสมบูรณ์ของเครื่องใช้ไฟฟ้า รวมถึงการชำรุดในจุดต่างๆ เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติภัยแบบที่เราไม่สามารถป้องกันได้

ข้อปฏิบัติเมื่อไฟรั่ว หรือ ไฟดูด

-ตัดทางเดินกระแสไฟฟ้าภายในบ้านก่อน โดยการยกคัทเอาท์ หรือดึงปลั๊กออก การปิดสวิตซ์ในตัวเครื่องไฟฟ้าเพียงอย่างเดียวจะไม่ได้ผล เพราะยังไม่ใช่การตัดกระแสไฟที่เข้าสู่ตัวเครื่อง

-หากยังไม่สามารถตัดทางเดินกระแสไฟได้ทันทีให้หาวัตถุที่ไม่เป็นสื่อไฟฟ้า เช่น ไม้แห้งๆ เชือก สายยางแผ่นยาง เก้าอี้ไม้ หรือ ผ้าห่มคล้อง-ดึง หรือผลักผู้ที่โดนไฟดูด ให้หลุดพ้นจากจุดที่โดนดูด และเพื่อความปลอดภัย ผู้ที่ช่วยเหลือควรยืนอยู่บนพื้นที่แห้ง

หลังจากที่ช่วยผู้เคราะห์ร้ายออกมาจากไฟดูดได้แล้ว ถ้าพบว่าเขาไม่หายใจ หรือหัวใจไม่เต้น ก็ต้องกระตุ้น โดยการเป่าปาก และกดทรวงอก

ป้องกันไฟรั่ว

-หมั่นตรวจเช็คอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆ หากเก่าก็ควรเปลี่ยนใหม่ หรือติดตั้งให้ถูกต้อง

-อุปกรณ์ไฟฟ้าที่ใช้อยู่ในบ้านต้องมีการตรวจสอบดูแลอยู่เสมอ บำรุงรักษาด้วยตัวเอง

- เครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องมีการสัมผัสอยู่ตลอดเวลา เช่นตู้เย็น เครื่องทำน้ำอุ่น เครื่องซักผ้า จำเป็นต้องต่อสายดิน และมีระบบสายดินที่สมบูรณ์

-วงจรสายดินต้องเป็นวงจรหลักในการป้องกันไฟรั่ว ส่วนเบรกเกอร์กันดูดนั้นให้เป็นระบบรองลงไป หากมีสายดินไม่มีเบรกเกอร์กันดูดก็ได้ แต่ถ้ามีเบรกเกอร์กันดูดต้องมีสายดินด้วยเสมอ แต่ถ้ามีทั้งสองอย่างถือว่าสมบูรณ์

เรียบเรียงข้อมูล : ศูนย์วิจัยเพื่อสร้างเสริมความปลอดภัยและป้องกันการบาดเจ็บในเด็ด รพ.รามาธิบดี

ภาพจาก www.istockphoto.com


      

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook