เทคนิคงานฉาบ

เทคนิคงานฉาบ

เทคนิคงานฉาบ
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

งานฉาบ เป็นการตกแต่งผิวผนังให้เรียบร้อย ปกปิดชั้นอิฐที่ก่อไว้ ซึ่งจะช่วยทำหน้าที่ป้องกันความชื้นระหว่างสองด้านของผนัง สำหรับประเทศไทยเป็นหนึ่งประเทศที่ให้ความสำคัญกับขั้นตอนนี้ค่อนข้างมาก จึงมีปูนซีเมนต์สูตรต่าง ๆ สำหรับปิดผิวที่มีความเรียบเนียน สวยงามมากเป็นพิเศษ
สำหรับการเตรียมการทำงานฉาบและอุปกรณ์ มีดังนี้

วัสดุและอุปกรณ์

1. ปูนซีเมนต์สำหรับงานฉาบ
    สำหรับงานฉาบนั้น ในขั้นแรกให้ทำการเลือกปูนที่จะใช้ฉาบ จาก “ประเภทของวัสดุที่ใช้ในการทำผนัง” เสียก่อน จากนั้นจะมีระดับความละเอียดให้เลือกใช้ ดังนี้
    สำหรับผนังที่ก่ออิฐมอญ(อิฐแดง) อิฐบล็อค(คอนกรีตบล็อค) และอิฐมวลเบาเทียม (อิฐมวลเบาชนิดไม่อบไอน้ำ)
    - ให้ใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท (ผสมร่วมกับทรายละเอียดตามอัตราส่วนหลังถุง)
    - หากต้องการความเรียบเนียนมากกว่า ให้ใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์งานฉาบ ฉาบสูตรพิเศษ (ผสมร่วมกับทรายละเอียดตามอัตราส่วนหลังถุง)
    - ถ้าต้องการความละเอียดที่มากขึ้นอีกระดับ สามารถเลือกใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบทั่วไป (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ซึ่งเนื้อปูนมีความละเอียดมากกว่าปูนซีเมนต์ผสม เนื่องจากคัดคุณภาพของวัสดุทดแทนทราย ผสมให้มาแล้วในถุง
    - ถ้าต้องการความละเอียดที่มากขึ้นอีกระดับ สามารถเลือกใช้ เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบละเอียด (ผสมน้ำใช้ได้ทันที) ซึ่งเนื้อปูนมีความละเอียดมากกว่ายิ่งขึ้น เนื่องจากคัดคุณภาพของวัสดุทดแทนทรายให้มีความละเอียดสูง ผสมให้มาแล้วในถุง

สำหรับอิฐมวลเบา

- เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบอิฐมวลเบา (ผสมน้ำใช้ได้ทันที)

สำหรับผิวคอนกรีต

- เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป ฉาบผิวคอนกรีต (ผสมน้ำใช้ได้ทันที)

นอกจากนี้ยังมีการใช้ปูนซีเมนต์จำพวก สกิมโค้ท หรือปูนฉาบแต่งผิวในการฉาบทับหน้าในขั้นตอนสุดท้ายเพื่อความเรียบเนียนเป็น พิเศษได้อีกด้วย

2. เกียงไม้ และเกรียงพลาสติก
3. ฟองน้ำ และแปรงสลัดน้ำ
4. อุปกรณ์ผสมปูน
5. ถังปูน


การผสมปูนฉาบ เดิมทีนั้นจะมีการเพิ่มสารเคมีเพื่อช่วยในการทำงานที่ง่าย และให้งานที่ลดการแตกร้าว เมื่อใช้ปูนซีเมนต์ประเภทดั้งเดิม แต่ปัจจุบัน ตราเสือ ได้พัฒนาผลิตภัณฑ์ให้มีการเพิ่มคุณสมบัติของปูนฉาบที่ดีลงในผลิตภัณฑ์ที่ใช้ งานฉาบได้ทุกตัว โดยเฉพาะใน เสือ มอร์ตาร์ ปูนซีเมนต์สำเร็จรูป สำหรับงานฉาบทุกชนิด ทำให้การทำงานง่ายขึ้น เพียงผสมน้ำก็สามารถใช้งานได้ทันที ช่วยให้ร่นระยะเวลาการทำงาน ได้งานที่สมบูรณ์แบบ ไม่ต้องกลับมาแก้ไขงานอีก
ขั้นตอนการฉาบ
1. รอผนังที่ก่อเซ็ทตัวอย่างน้อยเป็นเวลา 7 วัน โดยระหว่าง 7 วันนั้นให้มีการรดน้ำบ่มผนังอย่างต่อเนื่องด้วย
2. เช็คสภาพผิวผนังว่าอิฐยึดเกาะกันดี ผนังไม่โอนเอนเคลื่อนไหวได้ หากผนังมีการโน้มเอียงหรือเว้ายุบ จนเกินกว่าที่ปูนฉาบจะปิดผิวและทำให้ได้ระดับเท่ากัน (เมื่อฉาบไม่เกิน 2.5 เซนติเมตร) ให้สกัดส่วนเว้าแอ่นออก  เพื่อลดโอกาสหลุดล่อนจากการฉาบที่หนาเกินไป

3. จับเซี้ยมและจับปุ่ม เพื่อเป็นการฉาบให้ได้ระดับ และความหนาที่เหมาะสม โดยสามารถดูได้จากภาพประกอบ ซึ่งนิยมใช้ เสือ ซีเมนต์ ปูนซีเมนต์ผสม ก่อ ฉาบ เท มาผสมกับทรายให้มีส่วนของปูนเข้มขนกว่าการใช้งานทั่วไป เรียกว่า ปูนเค็ม

นอกจากนี้ควรมีการ “สลัดดอก” หรือการสะบัดปูนลงบนผิวคานและเสาคอนกรีตเพื่อเพิ่มความขรุขระให้กับผิวก่อนฉาบด้วย

4. ติดลวดตะแกรง หรือกรงไก่ บริเวณมุมวงกบประตูและหน้าต่าง เพื่อลดโอกาสแตกร้าวจากการยืดหดตัวของปูนซีเมนต์ รวมถึงรอยต่อของวัสดุต่างชนิด เช่น ระหว่างส่วนก่ออิฐกับเสาเอ็นและคานทับหลัง ระหว่างร่องการเดินท่อเดินสายไฟซึ่งปิดทับด้วยปูนแล้วกับส่วนก่ออิฐ

5. ก่อนการฉาบ 1 วัน ให้มีการรดน้ำในช่วงเย็น จากนั้นก่อนทำการฉาบในวันถัดไปให้รดน้ำผนังในช่วงเช้า ทิ้งให้หมาดก่อนทำการฉาบ ห้ามฉาบขณะที่ผนังยังเปียกน้ำ เพราะจะทำให้ปูนไม่ยึดเกาะกับ

6. การฉาบชั้นแรก สามารถเลือกใช้ปูนซีเมนต์ที่มีความหยาบกว่า อาธิ เสือ มอร์ตาร์ ฉาบทั่วไป โดยควรฉาบไม่เกิน 1.5 เซนติเมตรเท่านั้น เพราะจะต้องมีการฉาบในชั้นถัดไปเพี่อให้ผิวได้ระดับและเรียบเนียน

จากนั้นให้ใช้ไม้บรรทัดปาดปูนในการปรับผิวหน้าให้ได้ระดับ หมายระยะตามที่จับเซี้ยมและจับปุ่มไว้ โดยสามเหลี่ยมปาดปูนจะทำหน้าที่เฉือนเนื้อปูนที่ล้นเกินจากระดับที่จับปุ่ม และเซี้ยมไว้ และสามารถเติมเนื้อปูนในส่วนที่ยังพร่องไปได้

หรือหากเป็นผนังก่ออิฐมวลเบาสามารถใช้ เสือ มอร์ตาร์ ฉาบอิฐมวลเบา ในการฉาบในชั้นนี้ เพื่อให้เนื้อปูนสามารถยึดเกาะกับอิฐมวลเบาได้อย่างมีประสิทธิภาพ

7. การฉาบทับหน้า เป็นการขึ้นปูนเนื้อละเอียด อย่าง เสือ มอร์ตาร์ ฉาบละเอียด จากนั้นทำการตีน้ำลงฟอง เพื่อให้ผนังเรียบเนียน โดยใช้แปรงสลัดน้ำไปที่เนื้อปูนที่เริ่มแห้งหมาด ๆ ใช้เกรียงไม้ลูบไปมาให้ทั่วเพื่อเกลี่ยเม็ดทรายที่ผสมอยู่ให้เรียงตัวเรียบ เนียนเสมอกัน จากนั้นใช้ฟองน้ำที่ชุบน้ำและบิดจนแห้ง ประกบบนเกียงไม้ลูบซ้ำอีกครั้งให้ทั่วผนัง ทั้งนี้ เมื่อรวมกับผิวชั้นก่อนหน้านี้ไม่ควรหนาเกินไปกว่า 2.5 เซนติเมตร

8. การบ่มผิว ควรมีการรดน้ำผนังอย่างต่อเนื่องไปอีกวันละอย่างน้อย 1 ครั้ง ติดต่อกัน 3 – 7 วัน หากอากาศร้อน มีแดดจัด หรือลมพัดแรง จนทำให้ผนังเสียน้ำเร็วเกินไป ควรเพิ่มการรดน้ำเป็น 2-3 ครั้งต่อวัน และยืดระยะเวลาการลดออกไป อาจใช้การบังแดดลมด้วยการขึงผ้าใบช่วยในบริเวณที่สัมผัสกับอากาศที่รุนแรง
นอกจากนี้ยังมีวิธีการที่ทำให้ผนังเรียบเนียนเป็นพิเศษ คือการใช้ปูนฉาบแต่งผิวอย่าง เสือ เดคอร์ Grey Skim Coat (ฉาบแต่งผิวเทา) ฉาบในชั้นสุดท้ายเมื่อผนังชั้นแรกแห้งตัว และบ่มน้ำเสร็จแล้ว ซึ่งสามารถศึกษาวิธีการทำงานได้จากหลังถุง


ตราเสือ ขอสงวนสิทธิ์ในข้อมูลทุกประการ หากต้องการน้ำข้อมูลไปใช้อ้างอิง กรุณาติดต่อผ่าน www.facebook.com/TigerBrandTH 

เอกสารอ้างอิง

SCG Cement-Building Materials, Cement and Application, กรุงเทพมหานคร.

 

 

 

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook