รู้จัก “หนอนคืบ” และเหตุผล ทำไมช่วงนี้จึงออกอาละวาด

รู้จัก “หนอนคืบ” และเหตุผล ทำไมช่วงนี้จึงออกอาละวาด

รู้จัก “หนอนคืบ” และเหตุผล ทำไมช่วงนี้จึงออกอาละวาด
แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook

ช่วงนี้ดูเหมือนบรรดาสัตว์ต่างๆ อยากจะออกมาใกล้ชิดกับเรามากขึ้น กรณีงูโผล่ชักโครกบ้านโน้น บ้านนี้ หรือแม้แต่ข่าวกองทัพหนอนคืบ หรือหนอนผีเสื้อบุกโรงเรียนจนทำให้คุณครูต้องสั่งปิดโรงเรียนชั่วคราวเพื่อกำจัดหนอนโดยไม่ให้ส่งผลกระทบกับเด็กๆ

Sanook! Home เห็นข่าวแล้วก็รู้สึกยี้ๆ ปนสงสัยว่าหนอนพวกนี้มาจากไหน และทำไมต้องบุกโรงเรียนสร้างความเดือดร้อนรำคาญให้กับเราด้วย จนในที่สุดก็ได้คำตอบว่าเป็นเรื่องธรรมชาติโดยเพจ Decha Wiwatwitaya ของ รศ.ดร.เดชา วิวัฒน์วิทยา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้อธิบายว่า

ทุกครั้งที่มีภัยแล้งเกิดขึ้น...จะพบว่ามีหนอนผีเสื้อระบาดเกิดขึ้นเสมอในป่าเต็งรังและป่าผสมผลัดใบหรือพืชที่ขึ้นในป่า 2 ชนิดนี้ เช่น ประดู่ แล้วเมื่อนำไปปลูกในเขตเมืองหรือที่อื่นๆ หนอนชนิดนี้คือ หนอนกินใบประดู่ แมลงชนิดนี้ปรากฏตัวมากช่วงฤดูใบไม้ผลิใบใหม่ๆทุกปี (มี.ค.-มิ.ย.) อาจมากบ้างน้อยบ้างในแต่ละปี แต่ปีนี้อาจมีมากกว่าปกติ เนื่องจากมีปัจจัยเอื้อต่อการรอดตายอยู่มากนั่นเอง เช่น ศัตรูธรรมชาติมีน้อยมาก ไข่สามารถฟักเป็นตัวหนอนได้มากกว่าปกติ เมื่อต้นไม้เริ่มมีการแตกใบใหม่ช่วงแรกๆ แต่อาจไม่มาก เนื่องจากความแห้งแล้ง แล้วไม่พอเป็นอาหาร เพราะมีตัวหนอนมากมายเกินอาหารจะพอกิน จากนั้นตัวหนอนจะเดินลงมาตามพื้นดินแบบไม่มีทิศทาง เดินไปทั่วบริเวณนั้น เพื่อหาอาหาร จึงทำให้หนอนเดินตามพื้นดินมากมายไปหมด

ตัวหนอนเหล่านี้ ไม่เป็นอันตราย ถ้าปีไหน ต้นไม้มีใบมากกว่าตัวหนอนกิน ตัวหนอนจะไม่ลงมาเดินตามพื้นดิน สรุปแล้วหนอนชนิดนี้มีทุกปีนั่นเอง อาจสร้างความรำคาญให้แก่มนุษย์ แต่มีผลดีต่อนกที่กินแมลงและสัตว์อื่นที่กินแมลง หรือเอาไปเป็นอาหารไก่ก็ได้ ดังนั้น จึงไม่ควรตื่นตระหนกกับเหตุการณ์ที่เกิด เพราะเป็นเรื่องของธรรมชาติที่ไม่สมดุลกันนั่นเอง นอกจากนี้ยังเกิดขึ้นในระยะเวลาไม่นาน ตัวหนอนบางส่วนอาจตาย(ส่วนมาก) ถ้ารอดตาย จะเข้าดักแด้ได้ และเป็นผีเสื้อกลางคืนในที่สุด อย่างไรก็ตาม ในอนาคตจะต้องเกิดขึ้นอีกอย่างแน่นอน แต่จะเป็นปีไหนยังบอกไม่ได้ ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมในปีนั้นๆ โดยเฉพาะความแห้งแล้ง

ขอบคุณภาพจาก www.sanook.com

แชร์เรื่องนี้
แชร์เรื่องนี้LineTwitterFacebook